วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กุหลาบ...ความงามที่มิอาจปฏิเสธ

กุหลาบ...ความงามที่มิอาจปฏิเสธ

ดอกกุหลาบ

ดอกไม้ที่มากมายด้วยความสวย และความหมาย จนมีหลากหลายตำนานให้กล่าวขานกันไม่จบสิ้น
ในศาสนาฮินดูกล่าวว่า เมื่อพระพรหมสร้างโลก พระองค์ก็ทรงเลือกดอกกุหลาบเป็นบรรณาการแด่พระนางลักษมี ชานเผ่าอินเดียแดง ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับดอกกุหลาบว่า
นักรบนาม ทะสูเวนาฮี เมื่อกลับจากการล่าสัตว์ถึงบ้าน เขาพบว่า โตวันซา คนรักของเขา ถูกชนเผ่าอื่นสังหาร ต่อมาเธอได้กลายเป็นดอกกุหลาบ ทำให้ทะสูเวนาฮีเสียใจมาก จึงอธิษฐานว่าเมื่อตายไปขอให้เกิดเป็นต้นกุหลาบที่มีหนามแหลมคม เพื่อคอยปกป้องไม่ให้ใครเข้าใกล้ดอกกุหลาบ
จักรวรรดิโรมัน ที่ปกครองโดยกษัตริย์เนโร พระองค์โปรดปรานดอกกุหลาบเป็นอย่างมาก โดยการซื้อดอกกุหลาบประดับประดางานเลี้ยง และให้โปรยกลีบกุหลาบจากเพดาน ลงมาสู่พื้นตลอดงานเลี้ยง แม้กระทั่งพระเขนยที่หนุนนอน ก็ยังยัดไส้ด้วยกลีบกุหลาบเลยทีเดียว
ชาวโรมัน เชื่อกันว่า ดอกกุหลาบ เป็นสัญลักษณ์ของความลึกลับ อาถรรพ์ แม้แต่ในการประชุมหากใครต้องการให้เป็นประชุมลับ ก็ให้วางดอกกุหลาบไว้ที่หน้าห้องประชุมนั้น ซึ่งในภาษาละตินคำว่า “Sub rosa” หรือ “Under the rose” ในภาษาอังกฤษ ความหมายก็คือ “ลับสุดยอด” นั่นเอง





พระนางคลีโอพัตรา
พระนางคลีโอพัตรา ผู้เลอโฉม ต้อนรับการกลับมาของแม่ทัพมาร์ค แอนโทนี ด้วยการโปรยกลีบกุหลาบที่ห้องรับรองสูงถึง 20 นิ้วทีเดียว แม้แต่ในเรือพระที่นั่งก็ชโลมด้วยน้ำมันดอกกุหลาบจนหอมอยู่ตลอดเวลา
นครโรดส์ (Rose) ที่ยิ่งใหญ่ และสวยงามของกรีก ก็ได้ชื่อมาจาก Rhoden ซึ่งแปลว่า ดอกกุหลาบ (Rose) ซึ่งก็แน่แหล่ะค่ะ นครแห่งนี้มีสัญลักษณ์เป็นรูปดอกกุหลาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ว่ากันว่า นครที่ตั้งอยู่ริมทะเลแห่งนี้ ปลูกดอกกุหลาบนับแสนนับล้านต้น จนกลิ่นของมันหอมไปไกล นับพัน ๆ เมตร จนชาวเรือที่ผ่านไปมาก็ได้กลิ่นหอมอบอวลนี้ไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อขุดซากนครแห่งนี้ก็พบเหรียญที่มีสัญลักษณ์ที่เป็นดอกกุหลาบแทบทั้งสิ้น

เทพอีรอส หรือ คิวปิด โอรสของเทพวีนัส
ที่แปลกก็คือ ชาวกรีกเชื่อกันว่า คำว่า ROSE มาจากคำว่า EROS ซึ่งเป็นโอรสของเทพวีนัส หรือ คิวปิด (กามเทพ) เพราะเมื่อเทพอีรอส แย้มสรวลคราใด ก็จะกลายเป็นดอกกุหลาบเสียทุกครั้งไป
สีแดง ก็ เชื่อว่า คือโลหิตของเทพวีนัส ส่วนกลิ่นหอมกรุ่นของกุหลาบ เกิดจากเทพอีรอสได้ทำน้ำอมฤตหกลงไปที่ใจกลางของดอกกุหลาบนั่นเอง
กุหลาบ ใช่ว่าจะถูกใจกับสตรีเท่านั้น แม้แต่บุรุษเพศ ก็หลงใหลกับความสวย ของมัน ไม่ต่างกันเลย........

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

หอไอเฟล


หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย
หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ใช้จะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)
La tour Eiffel, initialement nommée tour de 300 mètres, est une tour de fer puddlé construite par Gustave Eiffel et ses collaborateurs pour l'exposition universelle de 1889. Situé à l'extrémité du Champ-de-Mars, en bordure de la Seine, ce monument parisien, symbole de la France et de sa capitale est le neuvième site le plus visité du pays en 2006 et le premier monument payant visité au monde avec 6,893 millions de visiteurs en 2007.D'une hauteur de 300 mètres à l'origine, prolongée par la suite de nombreuses antennes culminant à 325 mètres, la tour Eiffel est restée le bâtiment le plus élevé du monde pendant plus de 40 ans. Utilisée dans le passé pour de nombreuses expériences scientifiques, elle sert aujourd'hui d'émetteur de programmes radiophoniques et télévisés.