วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

>>>ปลาสลิด สัตว์น้ำเศรษฐกิจของไทย<<<

หากจะกล่าวถึงปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มีด้วยกันหลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาดุก ปลาช่อน ฯลฯ ซึ่งปลาเหล่านี้ปัจจุบันปริมาณความต้องการของผู้บริโภคมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้รูปแบบการเลี้ยงปรับสู่ระบบพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่มีปลาอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างแพร่หลายเช่นกัน แต่รูปแบบการเลี้ยงที่พบเห็นโดยทั่วไป ส่วนใหญ่ยังเป็นระบบธรรมชาติ เช่นการเลี้ยงปลาสลิดโดยแหล่งผลิตปลาสลิดที่รู้จักกันดี คือ ปลาสลิดบางบ่อ สมุทรปราการ ซึ่งจัดว่ามีรสชาติดี เนื้ออร่อยลักษณะทั่วไปของปลาสลิด


ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของไทยมีแหล่งกำเนิ[คำไม่พึงประสงค์]ยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Trichogaster pecteralis นิยมเลี้ยงกันมากแถวภาคกลาง ส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ เป็นพันธุ์ปลาที่ส่งไปจากเมืองไทยเมื่อประมาณ 80 -90 ปีที่ผ่านมา และเรียกว่าสยามหรือเซียม ปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงงาย อดทนต่อความเป็นกรดและน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยได้ดี มีห่วงโซ่อาหารสั้น คือกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ต้นทุนการผลิตต่ำ โดยนิยมเลี้ยงอยู่ในนาเรียกว่าชาวนาปลาสลิด
ปลาสลิดชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ตามบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักและสาหร่ายเพื่อใช้เป็นกำบังและก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอาหารพวกสาหร่าย พืชและสัตว์เล็ก ๆ จึงสามารถนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและนาข้างได้เป็นอย่างดี
ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลำตัวแบน ข้างมีครีบท้องยาวครีบเดียว สีของลำตัวมีสีเขียวออกเทาหรือสีคล้ำเป็นพื้น มีริ้วดำพาดขวางตามลำตัว จากหัวถึงโคนหาง เกล็ดบนเส้นข้างตัวประมาณ 42-47 เกล็ดปากเล็กยืดหดได้ ตัวโตเต็มที่ยาวประมาณ 20 ซม.
การเพาะพันธุ์ปลาสลิดแบบธรรมชาติ
โดยธรรมชาติปลาสลิดสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มวัยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวประมาณ 6-7 นิ้ว น้ำหนัก 130-140 กรัม วางไข่ได้ครั้งละ 4,000 – 10,000 ฟอง เมื่อถึงฤดูวางไข่ท้องแม่ปลาจะอูมเบ่งออกมาทั้ง 2 ข้าง ลักษณะไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง โดยในบ่อควรปลูกผักบุ้งรอบ ๆ ขอบบ่อ ปลาสลิดจะเข้าไปก่อหวอดวางไข่ ซึ่งลูกปลาวัยอ่อนสามารถเลี่ยงตัว หลบหลีกศัตรูตามบริเวณชานบ่อไป
การฟักไข่
ไข่ปลาสลิดเริ่มฟักเป็นตัวภายใน 24 ชม. และทยอยฟักเป็นตัวภายใน 48 ชม. ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะเป็นราสีขาว ไม่ออกเป็นตัว ลูกปลาที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ จะไม่กินอาหารประมาณ 7 วัน เมื่อจะเริ่มกินอาหารลูกปลาจะขึ้นมาเหนือน้ำในตอนเช้าตรู่ สำหรับพันธุ์ปลาสลิดที่นิยมผลิตขายนั้นมี 2 พันธุ์ คือ ลายแตงไทยและลายเสือ โดยพันธุ์ที่ได้รับความนิยม คือ ลายแตงไทยเพราะโตกว่าลายเสือ ส่วนเพศ ต้องการเพศเมียมากกว่าเพศผู้ เพราะโตกว่าเช่นกัน ในการดูว่าปลาตัวไหนเพศเมียให้ดูที่ท้อง คือตัวเมียท้องจะยานส่วนตัวผู้ท้องจะยาว ปลาสลิดมีแนวโน้มด้านการตลาดในอนาคตแจ่มใส เพราะปลาสลิดเป็นผลผลิตที่ตลาดต้องการสูง สามารถนำมาประกอบอาหารทั้งรูปสดและทำเค็ม ตากแห้ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้งเป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้ส่งเป็นสินค้าออกของประเทศอีกชนิดหนึ่ง โดยในปี 2538 มีผลผลิต 16,000 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 22,000 ตันในปี 2542 ซึ่งส่วนใหญ่ปลาสลิดจะมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ามากกว่าการบริโภคสด
การแปรรูปปลาสลิดที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. ปลาหอม หรือปลาจืด
2. ปลาน้ำหรือปลาเกลือ
ปลาสลิดที่แปรรูปเป็นปลาหอมหรือปลาจืด และปลาน้ำหรือปลาเกลือมีการกระจายผลผลิต โดยจะมีผู้ค้าส่งมารับถึงที่ ซึ่งมีทั้งผู้ค้าในท้องถิ่น ผู้ค้าส่งแถบต่างจังหวัด และผู้ค้าส่งจากกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีผู้บริโภคในท้องถิ่นมาซื้อถึงที่อีกด้วย หลังจากนั้นผู้ค้าส่งจึงส่งต่อไปให้ผู้ค้าปลีก เพื่อขายให้ผู้บริโภคต่อไป จะเห็นว่าปลาสลิดน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรรมนำมาประกอบเป็นอาชีพ เพราะเป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนได้ง่าย อย่างประเทศของเราในปัจจุบันและยังเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง รวมถึงเรื่องของอาหารสำหรับปลาสลิด นับว่าเป็นการลดต้นทุนได้อีกวิธีหนึ่ง เพราะปลาสลิดจะกินพวกพืชเป็นอาหาร ดังนั้น หากมีพื้นที่ที่เหมาะสมและทำการปรับปรุงเพื่อการเลี้ยงปลาสลิด จะช่วยเพิ่มปริมาณอาหารโปรตีนและเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัว เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

>>กำเนิดปฎิทินไทย<<

ปฎิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็นประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฎิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอบรัดเลย์ ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโฆษณาของหมอสมิท เป็นต้น
แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือขีดเขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1-12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฎิทินชนิดเล่ม
การพิมพ์ปฎิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อวันที่ 14 มกราคม พศ.2385 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จากไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปมี ค.ศ.1870 (พ.ศ.2413) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอบรัดเลย์ได้เขียนไว้ว่า "14 First Calendar print in B.1842" ( ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่ควดหมายว่า คือ หมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)
รัชการที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ปฎิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฎิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ.2385) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2404 ดังปรกกฎหลักฐานในหนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับปี ค.ศ.1862 (พ.ศ. 2405)
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฎิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ "ประนินทิน" ซึ่งลงโฆษณาในหนังสือ สยามไสมย ของหมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่งว่า "ประนินทินนี้แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมาก อันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่" แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ
ปฎิทินในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจ ได้แก่ ปฎิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วยสำหรับแจกพระราชทานแก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพรในวันขึ้นปีใหม่ ปฎิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฎิทินหลวงได้
การพิมพ์ปฎิทินเล่ม ยังมีการจัดทำต่อมาจนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฎิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของสภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น-น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่งซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าที่จดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวันเวลานัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า "ไดอารี่" (Diary) หรือ " สมุดบันทึกประจำวัน " ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฎิทินได้
ปฎิทินไ[คำไม่พึงประสงค์]ารี่เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฎหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไ[คำไม่พึงประสงค์]ารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่ มีชื่อเรียกว่า "จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน