วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

===> ปริศนาภาพวาดโมนา ลิซ่า (Mona Lisa) <===

===> ปริศนาภาพวาดโมนา ลิซ่า (Mona Lisa) <===


กว่า 500 ปีมากแล้วกับคำถามที่ว่า โมนา ลิซ่า (Mona Lisa) นั่นเป็นใคร ซึ่งยังเป็นปริศนา และยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนและแน่นอน ว่าบุคคลในภาพเขียนของ ลีโอนาร์โด ดา วินซี่ (Leonardo da vin Ci 1452-1519) คือใครกันแน่ ภาพนี้วาดขึ้นราวๆ ค.ศ. 1503-1506 โดยแฝงรอยยิ้มที่ลึกลับ น่าเคลือบแคลง ไปด้วยปริศนามากมายลงบนใบหน้าของ โมนา ลิซ่า ให้ผู้คนได้นึกคิด จินตนาการกันไปต่างๆ นานา ยาวนานถึง 5 ศตวรรษ จวบจนกระทั่งปัจจุบัน คำถามที่ผู้คนสงสัย และได้ค้นคว้าหาคำตอบกันอย่างมากมาย ก็คือ โมนา ลิซ่า คือใคร?
ตามคำบอกเล่าของ "จิออร์โอ วาซารี" (Giorgio Vasari 1511-1574) จิตรกร สถาปนิก และ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะในสมัยนั้น เขากล่าวไว้ว่า โมนา ลิซ่า ก็คือภรรยาของ ฟรานเชสโก เดล จิโอกอนโด ซึ่งเป็นพ่อค้าไหมที่มั่งคั่งแห่ง เมืองฟลอเรนซ์ ขณะที่ ดาวินซี่ เขียนภาพนี้ซึ่งได้ใช้เวลานานถึง 4 ปี เขาได้ไปว่าจ้าง นักร้อง นักดนตรี และตัวตลกมาให้ความบันเทิงแก่หญิงงามผู้เป็นแบบของ ภาพเขียน เพื่อให้เธอมีรอยยิ้มที่ปราศจากความเศร้าหมอง อย่างไรก็ตามจากคำ บรรยายของ วาซารี ก็เป็นเพียงข้อมูลจากผู้ที่ไม่เคยเห็นภาพเขียนนี้ของ ลีโอนาร์โด แต่อย่างใด
แม้ว่าบุคคลในภาพ โมนา ลิซ่า ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ครอบครองภาพนี้ยังพอมีข้อมูลอยู่บ้าง นั่นก็คือ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ลีโอนาร์โด ไม่ยอมพรากจากภาพเขียนนี้ และเขาได้นำติดตัวพร้อมกับทรัพย์สินสินมีค่าอื่นๆที่เขารัก หวงแหน ออกจากกรุงโรมเมื่อครั้งเดินทางมาที่ฝรั่งเศสเพื่อเป็นศิลปินแห่งราชสำนักของพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 (ค.ศ. 1479-1547) ใน ค.ศ. 1517 ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ครอบครองภาพ โมนา ลิซ่า คนแรกก็คือกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งโปรดให้นำภาพไปประดับที่ห้องสรงในพระราชวัง ฟองแตนโบล แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนขึ้นครองราชย์ ภาพโมนา ลิซ่า จึงถูกย้ายมาพำนักในห้องพระบรรทม และมีชื่อเรียกอย่าง สนิทสนมว่า "มาดาม ลิซ่า"
อันที่จริงแล้ว ลักษณะรอยยิ้มของ โมนา ลิซ่า ที่มีการตีความไปต่างๆนานานั้น สามารถ พบเห็นได้ในภาพเขียนอื่นๆของ ดาวินซี่ เองเช่น รอยยิ้มที่แฝงความอ่อนโยนและการุณย์ ของเซนต์แอนน์ หรือพระแม่มารี หรือแม้กระทั่งรูปปั้นในยุคโบราณของกรีก ในศตรวรรษที่ 19 มีผู้เห็นว่าภายใต้รอยยิ้มยากที่จะหยั่งลึกของ โมนา ลิซ่า นี้กลับแฝงไว้ด้วย ปริศนาอมตะ แห่งอิสตรี ส่วนนักจิตวิเคราะห์อย่าง ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund freud) ก็ตีความหมายว่า "ลีโอนาร์โดหลงไหลรอยยิ้มของ โมนา ลิซ่า" เพราะมันคือสิ่งที่หลับไหล ภายในจิตใจ และความทรงจำในอดีตของเขาที่ผ่านมานานแล้ว รอยยิ้มนี้ถอดแบบพิมพ์ มาจากคาเตรีนาผู้ที่เป็นมารดา สำหรับนักสุนทรียศาสตร์อย่าง วอลเทอร์ เพเทอร์ (Walter Pater) พรรณนาไว้ว่า "เธอมีอายุแกกว่าหินผาที่ห้อมล้อมเธอ ประดุจหนึ่งปีศาจดูดเลือด เธอได้ตายมาแล้วหลายคราและหยั่งรู้ความลึกลับแห่งหลุมศพ"
พอมาถึงต้นศตรวรรษที่ 20 ผู้คนรุ่นใหม่ๆ เกือบที่จะไม่ได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และทัศนคติต่อโมนา ลิซ่า เสียแล้วเมื่อปี ค.ศ. 1974 โมนาลิซ่าถูกนำไปแสดงที่กรุง มอสโก และโตเกียว โดยเฉพาะที่ โตเกียวมีผู้คนมาเข้าแถวชมเพื่อยลโฉมเธอถึง 2 ล้านคนในช่วงเวลาแค่ 3 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น: