วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

>>>คำอวยพรวันคริสต์มาส<<<

คำอวยพรวันคริสต์มาส



วันคริสต์มาส (christmas day) เป็นวันแห่งความสุข เป็นวันที่มีประวัติยาวนาน ดังที่ได้เล่าประวัติวันคริสต์มาส ไว้ครั้งก่อน ซึ่งเราได้รวบตัวคำอวยพรวันคริสต์มาสภาษาไทย คำอวยพรวันคริสต์มาสเป็นภาษาอังกฤษ ไว้สำหรับทำการ์ดคริสต์มาส ในเทศกาลวันคริสต์มาส อันใกล้จะถึงนี้


ภาพคริสต์มาส สวยๆนี้ก็สามารถนำไปตกแต่งการ์ดอวยพรวันคริสต์มาสได้



กลอนวันคริสต์มาส (คำอวยพรวันchristmas)
คริสต์มาสต์ที่คิดถึงคำนึงหา
รอเวลาเช่นนี้มาช้านาน
เพื่อเข้าร่วมความสุขในเทศกาล
ล้างหมู่มารทั้งหลายข้างในใจ

ในวันนี้สุขสันต์อย่างสุดซึ้ง
ควรคำนึงความปลอดภัยอีกมากหลาย
วันความสุขไม่ควรจะไปตาย
ขับปลอดภัยไร้ทุกข์โศกตลอดไป


ขอให้มีความปีติยินดีในวันคริสต์มาสและรื่นเริงในวันปีใหม่


คริสมาสต์ ปีนี้ขอให้มีความสุขมากๆ


คิดสิ่งใดก็ขอให้สมความปราถนา

สุขภาพร่างกายแข็งแรง

______________________

ประวัติวันคริสต์มาส

คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ (Christmas) ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า "Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษ (เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1038) และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันประสูติของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในรัชกาลของจักรพรรดิออกุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรีย ก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนกำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64 – ค.ศ. 313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย



ดังนั้นเป็นการฉลองการบังเกิดของพระเยซูที่เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า " คริสมาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ ว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า "Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี 1038 และคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

ในภาษาไทย " คริสต์มาส " ก็มีความหมาย เช่นกัน คำว่า "มาส" แปลว่า "เดือน" เทศกาลคริสต์มาสจึง เป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์เจ้าเป็นพิเศษ คำว่า"มาส" คือ"ดวงจันทร์" ตีความหมายในภาษาไทยคือพระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์ เป็นความสว่างในตอนกลางคืน Merry X’mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า"สันติสุขและความสงบทางใจ"

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

>>>โมโซไทยดอทคอม<<<

บทเรียนจากการสร้างกระแสเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งที่มีการจุดประกายแนวคิดมานานหลายปี แต่เอาเข้าจริง ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจปรัชญาความคิดอย่างลึกซึ้ง หลายคนยังแยกไม่ออกระหว่าง "ความต้องการ" และ "ความจำเป็น"

ที่สำคัญ วัยรุ่นและคนไทยรุ่นใหม่ยังอยู่ท่ามหลางวัฒนธรรมการบริโภคแบบสนองอารมณ์ที่มีอยู่ไม่สิ้นสุด ยอมจ่ายเงินหลายพันเพื่อซื้อคอมเสิร์ตนักร้องเกาหลี อยากมีอยากได้ของแบรนด์เนม ยอมแม้กระทั่งขายเรือนร่างและเงินซื้อกระเป๋าในละแสน เพื่ออวดรสนิยมเหมือนดาราเห่อของหรูราคาแพง
นั่นทำให้ชุมชนโมโซออนไลน์ www.mosothai.com เปิดตัวขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางถ่ายทอดความคิดไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ สร้างเครือข่ายและหาต้นแบบหรือไอดอลมาสะท้อนความคิดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับความหมายของ "โมโซ" หรือ mosothai นั้น คำแรก "MO" มาจากคำว่า "Moderation" หมายถึง ความพอประมาณ ไม่มาไป ไม่น้อยไป พอดีๆ

ส่วน "SO" มาจากคำว่า "Society" หมายถึง สังคม

ชาว MOSO ก็หมายถึง กลุ่มคนรุ่นใหม่ของสังคมที่ใช้ชีวิตในรูปแบบพอดีๆ ยึดหลักความพอประมาณ การเป็นคนมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันทางความคิดในการดำเนินชีวิต ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ต้องรู้จัก "พอประมาณ" ในการใช้ชีวิตเสียก่อน ทำทุกอย่างให้อยู่ในความพอดี รู้จักขีดความสามารถของตนเอง ไม่ทำอะไรเกินตัว รู้จักใช้ "ดหตุผล" มากขึ้น เรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่มากไป น้อยไป มีการไตร่ตรองเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ได้อย่างชัดเจน และเมื่อเรามีทั้งความคิดที่ "พอประมาณ" บวกกับการใช้ "เหตุผล" ที่มากพอแล้ว ทั้งสองสิ่งจะสร้าง "ภูมิคุ้มกัน" ต่ออุปสรรคและปัญหา ควบคู่กันการมีความรู้และคุณธรรม
จุดกำเนิดของสังคมพอประมาณหรือ "โมโซไซตี้"เริ่มต้นเมื่อปี 2548 จากงานวิจัยของสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การนำของ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)เป็นผู้สนับสนุน เพื่อสร้างขบวนเคลื่อนไหวในสังคมในเกิดความตระหนักในการใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปัจจุบันมีผู้สนใจทั้งระดับองค์กร และระดับบุคคลนำแนวคิดโมโซไซตี้ไปใช้ในการ รณรงค์หรือขับเคลื่อนโครงการหรือกิจกรรมกว่า 30 องค์กร และชาวโมโซลงทะเบียนในเครือข่ายมากกว่า 5,000 คนแล้ว รวมทั้งออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เช่น กิจกรรมต้นแบบโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.เพชรบุรี กิจกรรมให้ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงแก่ครู ศรช. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.นครปฐม นิทรรศการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงในงาน "1,392 ปิ๋สลีเวียงวังฆะเติ๋น" จ.ลำปาง