บทเรียนจากการสร้างกระแสเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งที่มีการจุดประกายแนวคิดมานานหลายปี แต่เอาเข้าจริง ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจปรัชญาความคิดอย่างลึกซึ้ง หลายคนยังแยกไม่ออกระหว่าง "ความต้องการ" และ "ความจำเป็น"
ที่สำคัญ วัยรุ่นและคนไทยรุ่นใหม่ยังอยู่ท่ามหลางวัฒนธรรมการบริโภคแบบสนองอารมณ์ที่มีอยู่ไม่สิ้นสุด ยอมจ่ายเงินหลายพันเพื่อซื้อคอมเสิร์ตนักร้องเกาหลี อยากมีอยากได้ของแบรนด์เนม ยอมแม้กระทั่งขายเรือนร่างและเงินซื้อกระเป๋าในละแสน เพื่ออวดรสนิยมเหมือนดาราเห่อของหรูราคาแพง
นั่นทำให้ชุมชนโมโซออนไลน์ www.mosothai.com เปิดตัวขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางถ่ายทอดความคิดไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ สร้างเครือข่ายและหาต้นแบบหรือไอดอลมาสะท้อนความคิดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับความหมายของ "โมโซ" หรือ mosothai นั้น คำแรก "MO" มาจากคำว่า "Moderation" หมายถึง ความพอประมาณ ไม่มาไป ไม่น้อยไป พอดีๆ
ส่วน "SO" มาจากคำว่า "Society" หมายถึง สังคม
ชาว MOSO ก็หมายถึง กลุ่มคนรุ่นใหม่ของสังคมที่ใช้ชีวิตในรูปแบบพอดีๆ ยึดหลักความพอประมาณ การเป็นคนมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันทางความคิดในการดำเนินชีวิต ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ต้องรู้จัก "พอประมาณ" ในการใช้ชีวิตเสียก่อน ทำทุกอย่างให้อยู่ในความพอดี รู้จักขีดความสามารถของตนเอง ไม่ทำอะไรเกินตัว รู้จักใช้ "ดหตุผล" มากขึ้น เรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่มากไป น้อยไป มีการไตร่ตรองเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ได้อย่างชัดเจน และเมื่อเรามีทั้งความคิดที่ "พอประมาณ" บวกกับการใช้ "เหตุผล" ที่มากพอแล้ว ทั้งสองสิ่งจะสร้าง "ภูมิคุ้มกัน" ต่ออุปสรรคและปัญหา ควบคู่กันการมีความรู้และคุณธรรม
จุดกำเนิดของสังคมพอประมาณหรือ "โมโซไซตี้"เริ่มต้นเมื่อปี 2548 จากงานวิจัยของสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การนำของ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)เป็นผู้สนับสนุน เพื่อสร้างขบวนเคลื่อนไหวในสังคมในเกิดความตระหนักในการใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปัจจุบันมีผู้สนใจทั้งระดับองค์กร และระดับบุคคลนำแนวคิดโมโซไซตี้ไปใช้ในการ รณรงค์หรือขับเคลื่อนโครงการหรือกิจกรรมกว่า 30 องค์กร และชาวโมโซลงทะเบียนในเครือข่ายมากกว่า 5,000 คนแล้ว รวมทั้งออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เช่น กิจกรรมต้นแบบโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.เพชรบุรี กิจกรรมให้ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงแก่ครู ศรช. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.นครปฐม นิทรรศการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงในงาน "1,392 ปิ๋สลีเวียงวังฆะเติ๋น" จ.ลำปาง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น