วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

>>กำเนิดปฎิทินไทย<<

ปฎิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็นประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฎิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอบรัดเลย์ ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโฆษณาของหมอสมิท เป็นต้น
แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือขีดเขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1-12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฎิทินชนิดเล่ม
การพิมพ์ปฎิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อวันที่ 14 มกราคม พศ.2385 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จากไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปมี ค.ศ.1870 (พ.ศ.2413) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอบรัดเลย์ได้เขียนไว้ว่า "14 First Calendar print in B.1842" ( ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่ควดหมายว่า คือ หมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)
รัชการที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ปฎิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฎิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ.2385) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2404 ดังปรกกฎหลักฐานในหนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับปี ค.ศ.1862 (พ.ศ. 2405)
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฎิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ "ประนินทิน" ซึ่งลงโฆษณาในหนังสือ สยามไสมย ของหมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่งว่า "ประนินทินนี้แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมาก อันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่" แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ
ปฎิทินในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจ ได้แก่ ปฎิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วยสำหรับแจกพระราชทานแก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพรในวันขึ้นปีใหม่ ปฎิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฎิทินหลวงได้
การพิมพ์ปฎิทินเล่ม ยังมีการจัดทำต่อมาจนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฎิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของสภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น-น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่งซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าที่จดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวันเวลานัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า "ไดอารี่" (Diary) หรือ " สมุดบันทึกประจำวัน " ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฎิทินได้
ปฎิทินไ[คำไม่พึงประสงค์]ารี่เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฎหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไ[คำไม่พึงประสงค์]ารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่ มีชื่อเรียกว่า "จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน

ไม่มีความคิดเห็น: